W

Wage ค่าจ้าง

ค่าตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ลงวันที่ ๑๖ เมษายน ๒๕๑๕ กำหนดไว้ค่า “ค่าจ้าง” หมายความว่า เงินหรือเงินและสิ่งของที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นการตอบแทนการทำงานในเวลาทำงานปกติของวันทำงานหรือจ่ายให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้และหมายความรวมถึงเงินหรือเงินและสิ่งของที่จ่ายให้ในวันหยุด ซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานและในวันลาด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนดคำนวณ หรือจ่ายเป็นการตอบแทนในวิธีอย่างไร และไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร


Wage Advance Plans แผนการทดรองจ่ายค่าจ้าง

ในบางโอกาสหรือบางสถานการณ์ ลูกจ้างอาจขอเบิกเงินค่าจ้างของตนล่วงหน้า หรือก่อนที่จะได้ลงมือปฏิบัติงานจริง การจ่ายเงินล่วงหน้าเช่นนี้ อาจจ่ายให้เฉพาะกรณีบุคคลและบางเวลา ส่วนมากจ่ายให้แก่ลูกจ้างเข้าใหม่ สำหรับการที่จำทำงานในสัปดาห์แรกหรือลูกจ้างได้ทำงานเรียบร้อยแล้วแต่ยังไม่ถึงกำหนดจ่ายเงินนายจ้างอาจจ่ายให้ก่อนกำหนด


Wage Award คำชี้ขาดเกี่ยวกับค่าจ้าง

คำวินิจฉัยหรือคำชี้ขาดที่เกี่ยวกับค่าจ้างซึ่งเป็นผลจากการตัดสินของผู้ชี้ขาด


Wage Brackets ช่วงของอัตราค่าจ้าง

ดูคำว่า Rate Range


Wage Control การควบคุมค่าจ้าง

เป็นความพยายามของรัฐที่จะควบคุมอัตราค่าจ้างให้อยู่ในระดับที่มีผลกระทบต่อภาวะเงินเฟ้อน้อยที่สุด


Wage Earner ผู้ทำงานโดยรับค่าจ้าง

ผู้ทำงานหรือลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้าง โดยคิดตามเวลาทำงานหรือตามผลงานที่ทำได้ การคิดค่าจ้างตามเวลาทำงานอาจคิดเป็นรายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ หรือรายเดือนก็ได้ ส่วนการคิดค่าจ้างตามผลงานโดยทั่วไปคิดเป็นรายชิ้น


Wage Leadership ผู้นำในการกำหนดค่าจ้าง

การที่บริษัทใหญ่ ๆ หรือกลุ่มบริษัทร่วมกันกำหนดค่าจ้างที่เหมาะสมขึ้น ทำให้บริษัทและอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันอื่น ๆ ให้ค่าจ้างในระดับที่คล้อยตามนั้นด้วย


Wage Progression การตรึงอัตราค่าจ้าง

มาตรการของรัฐในการรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจของประเทศในระหว่างสงคราม โดยการตรึงหรือควบคุมระดับอัตราค่าจ้างให้สัมพันธ์กับราคาสินค้า เพื่อป้องกันภาวะเงินเฟ้อ


Wage Progression, Automatic การขึ้นค่าจ้างแบบอัตโนมัติ

การขึ้นค่าจ้างโดยอัตโนมัติตามที่สถานประกอบการกำหนดไว้ ให้ลูกจ้างได้รับเมื่อทำงานครบตามเวลา บางครั้งการขึ้นค่าจ้างจะคำนึงถึงระยะเวลาทำงานหรืออาวุโสด้วย


Wage Rate ผู้นำในการกำหนดค่าจ้าง

การที่บริษัทใหญ่ ๆ หรือกลุ่มบริษัทร่วมกันกำหนดค่าจ้างที่เหมาะสมขึ้น ทำให้บริษัทและอุตสาหกรรมประเภทเดียวกันอื่น ๆ ให้ค่าจ้างในระดับที่คล้อยตามนั้นด้วย


Wage Stabilization อัตราค่าจ้าง

จำนวนเงินค่าจ้างต่อระยะเวลาทำงานหรือต่อหน่วยของผลผลิตที่ลูกจ้างแต่ละคนทำได้


Wage Survey การสำรวจค่าจ้าง

การศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับค่าจ้าง อาจศึกษาในระดับสถานประกอบการในภูมิภาค ในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งหรือทั้งประเทศก็ได้ วิธีสำรวจขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการนำข้อมูลไปใช้ เช่น ใช้ในการกำหนดโครงสร้างค่าจ้างของสถานประกอบการ หรือการกำหนดนโยบายค่าจ้างของประเทศ


Walkout การผละงาน

การละทิ้งหน้าที่การงานด้วยการเดินออกจากที่ทำงานโดยไม่ได้นัดหมายหรือเตรียมการล่วงหน้า


Welfare สวัสดิการ

บริการหรือผลประโยชน์ต่างๆ ที่นายจ้างจัดขึ้น เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ลูกจ้างในการทำงาน มีสภาพแวดล้อมที่สะดวกสบาย เป็นการสร้างขวัญและความพึงพอใจแก่ผู้ทำงาน ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น สวัสดิการดังกล่าว นายจ้างอาจจัดให้แก่ลูกจ้างตามที่กฎหมายกำหนด ซึ่งเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานหรือจัดให้เป็นสวัสดิการพิเศษนอกเหนือจากที่กฎหมายกำหนด หรืออาจจัดให้ตามข้อตกลงจากการร่วมเจรจาต่อรองก็ได้


Welfare Management การบริหารสวัสดิการ

การดำเนินการที่เกี่ยวกับบริการหรือผลประโยชน์ต่างๆ ซึ่งฝ่ายจัดการจัดให้เป็นสวัสดิการแก่ลูกจ้าง


White-Collar Worker ผู้ทำงานในสำนักงาน

คนงานประเภทนี้ ส่วนใหญ่ทำงานภายในสำนักงานนับตั้งแต่เสมียนพนักงาน หัวหน้างาน หรือผู้ควบคุมงาน ซึ่งถือเป็นคนงานฝีมือและกึ่งฝีมือ ส่วนมากเป็นผู้มีความรับผิดชอบและสามารถตัดสินใจในการทำงานด้วยตนเอง


Whitelist บัญชีเปิด

มีความหมายตรงข้ามกับบัญชีลับ (Blacklist) ซึ่งหมายถึงรายชื่อลูกจ้างหรือบุคคลที่นายจ้างพร้อมที่จะรับเข้าทำงาน โดยที่คนเหล่านั้นไม่ได้เป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน หรืออีกนัยหนึ่งอาจจะเป็นรายชื่อของบรรดานายจ้าง ซึ่งสหภาพแรงงานเห็นว่าเป็นพวกเดียวกัน


Wildcat Strike การหยุดงานทันที

เป็นการหยุดงานประท้วงของกลุ่มลูกจ้างหรือสหภาพแรงงานที่เกิดขึ้นในทันทีทันใดโดยไม่มีระเบียบวินัย ในลักษณะเดียวกับ Quickie Strike แต่ Wildcat Strike มักจะมีสาเหตุมาจากสัญญาข้อตกลงหรือข้อกำหนดของนายจ้าง ซึ่งเป็นปัญหาที่ใหญ่กว่าและแก้ไขได้ยากกว่า


Work งาน

กิจกรรม ภาระ หรือหน้าที่ซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งทำแล้วก่อให้เกิดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ


Work Load ปริมาณงาน

หมายถึง ปริมาณงานหรือผลผลิตที่ทำได้ในเวลาที่กำหนด ซึ่งอาจเป็นชั่วโมงหรือวัน นายจ้างอาจใช้ปริมาณงานนี้เป็นหลักในการพิจารณากำหนดค่าจ้าง และโดยทั่วไปจะกำหนดปริมาณงานที่ควรทำได้ในระยะหนึ่งไว้เป็นมาตรฐาน โดยให้เป็นไปตามความเหมาะสมแก่การผลิตที่มีประสิทธิภาพไม่ต่ำหรือสูงจนเกินไป


Work Measurement การวัดผลงาน

การหาผลการทำงานของแต่ละบุคคลเพื่อให้ทราบว่าในระยะเวลาหนึ่ง ๆ แต่ละคนทำงานได้ปริมาณและคุณภาพเพียงไร การวัดผลโดยทั่วไปอาศัยตัวเลขทางสถิติหรืออาจใช้เทคนิคต่างๆ ที่จะทำให้ทราบผลได้


Work Permits ใบอนุญาตทำงาน

ใบอนุญาตทำงานของคนต่างด้าว คือ ใบอนุญาตที่รัฐออกให้แก่คนต่างด้าวที่ประสงค์จะทำงานในอาชีพที่ไม่ห้ามคนต่างด้าวทำในราชอาณาจักรและใบอนุญาตทำงานที่ออกให้นั้นจะกำหนดอายุและเงื่อนไขเกี่ยวกับการทำงานอย่างใดไว้ก็ได้ โดยให้คนต่างด้าวรับทราบด้วย


Work Rules ข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงาน

ระเบียบปฏิบัติต่าง ๆ ที่นายจ้างหรือสถานประกอบการกำหนดขึ้น ให้ลูกจ้างยึดถือปฏิบัติ หากฝ่าฝืนอาจถูกลงโทษได้


Work Sharing การเฉลี่ยงาน

แผนซึ่งนายจ้างหรือนายจ้างและสหภาพแรงงานร่วมกันกำหนดขึ้น ในกรณีที่กิจการประสบปัญหาในการดำเนินงานเพื่อไม่ต้องลดจำนวนลูกจ้างหรือลดน้อยที่สุด โดยอาจลดปริมาณการผลิตและลดชั่วโมงทำงานของแต่ละคนลง เพื่อให้ลูกจ้างมีงานทำโดยทั่วถึงกัน


Work Stoppage การหยุดงาน

มีความหมายและผลเช่นเดียวกับการนัดหยุดงาน บางครั้งจะใช้แทนกันเพื่อความสละสลวยในด้านภาษา (สำหรับภาษาต่างประเทศ)


Workaholic คนบ้างาน

คนที่หมกมุ่นกับงานมากเกินปกติเป็นประจำไม่สามารถควบคุมตัวเองให้ทำงานในเวลาที่พอเหมาะ และติดการทำงานเหมือนคนที่ติดยาเสพติด


Workdays Lost วันที่ทำงานที่สูญเสีย

วันที่ทำงานที่สูญเสียเนื่องจากการทีลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง


Working Employer นายจ้างผู้ร่วมทำงานกับลูกจ้าง

ได้แก่ นายจ้างหรือบุคคลผู้ซึ่งจ้างลูกจ้างทำงานและเป็นผู้ควบคุมเอง แต่ในขณะเดียวกันก็ลงมือปฏิบัติงานนั้นไปด้วย ซึ่งมักจะได้แก่นายจ้างในงานประเภทช่างฝีมือ


Working Group คณะทำงาน

กลุ่มคนซึ่งได้รับการคัดเลือกให้ร่วมกันปฏิบัติงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นกรณีพิเศษ นอกเหนือจากงานในหน้าที่ประจำตามปกติ เมื่องานสำเร็จตามวัตถุประสงค์คณะทำงานก็จะสลายตัว


Workmen’s Compensation เงินทดแทน

เงินที่นายจ้างหรือกองทุนเงินทดแทนจ่ายให้แก่ลูกจ้างหรือผู้มีสิทธิตามกฎหมายแรงงาน เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเจ็บป่วย หรือเจ็บป่วยจนถึงแก่ความตาย หรือเป็นโรคที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงานให้แก่นายจ้าง