O

Occupation งานหรืออาชีพ

ตามเอกสาร “การจัดประเภทมาตรฐานอาชีพ (ประเทศไทย)” ให้คำนิยามไว้ว่า “อาชีพ” หมายถึง งานประกอบการค้า งานที่ใช้วิชาชีพหรืองานอื่นๆ ซึ่งบุคคลใดบุคคลหนึ่งกระทำอยู่ แต่ไม่หมายความถึงอุตสาหกรรม สถานการณ์ทำงานหรือประสบการณ์ในการทำงานของผู้ปฏิบัติงานนั้นๆ


Occupation Analysis การวิเคราะห์อาชีพ

การศึกษารายละเอียดทั้งหมดในการปฏิบัติงานอาชีพ เช่น ลักษณะงาน ขั้นตอนการทำงาน คุณสมบัติของผู้ทำงานเพื่อให้ทราบว่าอาชีพนั้นๆ เป็นอาชีพประเภทใด ควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด


Occupation Classification การจัดประเภทอาชีพ

การจัดจำแนกอาชีพที่มีทั้งหมดในประเทศออกเป็นหมวดหมู่ตามลักษณะงานที่ทำ พร้อมทั้งกำหนดรหัสให้แต่ละหมวดหมู่เหล่านั้น เพื่อความเป็นระเบียบ สะดวกแก่การค้นหา


Occupational Injury การบาดเจ็บเนื่องจากการทำงาน

การประสบอันตรายหรือได้รับบาดเจ็บที่มีสาเหตุมาจากการประกอบอาชีพ


Occupational Mobility การเปลี่ยนอาชีพ

การเปลี่ยนอาชีพหรือเปลี่ยนงานจากงานที่เคยทำและมีความถนัดไปสู่งานอาชีพอื่น อาจเปลี่ยนไปทำงานใหม่ที่ไม่ได้ใช้ความรู้ความชำนาญสูงเป็นพิเศษ และใช้เวลาในการฝึกอบรมไม่มากนักงานที่มีผู้ย้ายออก (มีการออกจากงาน) มักจะได้รับการพิจารณาให้ทำการศึกษา วิเคราะห์หาสาเหตุ


Occupational Survey การสำรองอาชีพ

การศึกษาลักษณะงานอาชีพโดยละเอียดตามโรงงานอุตสาหกรรมหรือสถานประกอบการต่างๆ เพื่อจัดกลุ่มหรือประเภทอาชีพ โดยปกติจะศึกษาโดยการสัมภาษณ์ และดูขั้นตอนการปฏิบัติงานจริง


Off-The-Job-Training การฝึกอบรมนอกงาน

เป็นการฝึกอบรมทั่วไปนอกสถานที่ทำงาน ซึ่งแยกออกจากการฝึกปฏิบัติงานจริง เช่น การฝึกอบรมโดยวิธีบรรยาย การสัมมนา การศึกษากรณีตัวอย่าง (case study) โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของวิทยากร


Office Worker ลูกจ้างหรือพนักงานในสำนักงาน

ลูกจ้างหรือพนักงานที่ทำงานในสำนักงาน เช่น พนักงานพิมพ์ดีด พนักงานธุรการหรือเสมียนพนักงาน รวมทั้งผู้ทำงานอื่นที่เกี่ยวข้องในสำนักงาน


Old Age Insurance การประกันชราภาพ

รูปแบบหนึ่งของการทำประกันในโครงการประกันสังคม ให้ผู้ประกันตนได้รับประโยชน์ตอบแทนเมื่อเกษียณอายุหรือชราภาพ


ommission ค่านายหน้า

เป็นค่าตอบแทนการทำงานที่ผู้เป็นเจ้าของธุรกิจจ่ายให้แก่บุคคลผู้ทำหน้าที่แทนในธุรกิจที่เกี่ยวกับการซื้อขายหรือการให้บริการต่างๆ โดยให้ได้รับค่าตอบแทนตามอัตราที่ตกลงกันไว้


On-Call Time Pay ค่าเตรียมพร้อมที่จะทำงาน

ค่าตอบแทนในกรณีที่มีความจำเป็นให้ลูกจ้างเตรียมพร้อมที่จะถูกเรียกตัวมาทำงานได้ทันทีในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง


On-Site Labour คนงานในสถานที่ก่อสร้าง

ลูกจ้างหรือคนงานที่ทำงานอยู่ในพื้นที่โครงการที่ทำการก่อสร้าง


On-The-Job-Training การฝึกปฏิบัติในงาน

วิธีการฝึกอบรมในพื้นที่หรือในสถานที่ทำงานจริงเพื่อให้ผู้ฝึกได้รับรับการเรียนรู้จากการปฏิบัติ โดยครูผู้สอนอาจทำให้ดูพร้อมกับการอธิบายและให้ผู้รับการฝึกลงมือปฏิบัติไปด้วย หรือใช้วิธีการบอกให้ปฏิบัติและอาจมีการเรียนในชั้นประกอบด้วยก็ได้


Open Shop กิจการเปิด

ในทางทฤษฎีเป็นกิจการที่จ้างบุคคลทั้งผู้เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเข้าทำงาน แต่ในทางปฏิบัติกิจการเปิดกลับกลายเป็นกิจกรรมที่รับเฉพาะบุคคลที่ไม่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเข้าทำงาน


Open Union สหภาพแรงงานเปิด

สหภาพแรงงานเปิดเป็นองค์การลูกจ้าง ซึ่งรับสมัครสมาชิกที่มีคุณสมบัติครบ และทำงานในอาชีพหรืออุตสาหกรรมใดซึ่งสหภาพแรงงานนั้นครอบคลุมอยู่ โดยเรียกเก็บค่าธรรมเนียมแรกเข้าไม่สูงนัก และไม่กีดกันในเรื่องเกี่ยวกับเชื้อชาติและเพศ


Open-End-Agreement ข้อตกลงที่ไม่มีกำหนดเวลา

ข้อตกลงการร่วมเจรจาต่อรองระหว่างนายจ้าง-ลูกจ้างซึ่งไม่มีกำหนดวันสิ้นสุดของการบังคับใช้ จำนวนวันหรือเวลาที่มีผลใช้บังคับนั้นจะอยู่ในดุลยพินิจของทั้งสองฝ่ายที่จะตกลงกันเมื่อใดก็ได้


Open-End-Question คำถามปลายเปิด

คำถามที่ผู้ตอบสามารถตอบตามสภาพการณ์ของแต่ละคนซึ่งไม่เหมือนกัน เช่น ให้เล่าประสบการณ์ที่ประทับใจในชีวิตหรือเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นของแต่ละบุคคล


Opinion Survey การสำรวจความคิดเห็น

วิธีการของฝ่ายบริหารเพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับทัศนคติหรือความรู้สึกนึกคิดของฝ่ายลูกจ้างที่มีต่อนโยบาย แผนงาน การบริหาร ผู้บริหาร และอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการดำเนินงานของสถานประกอบการ เพื่อให้ฝ่ายบริหารเข้าใจทัศนคติที่แท้จริงของฝ่ายลูกจ้าง ซึ่งจะสามารถนำไปปรับปรุงการบริหารงานบุคคลให้ดีขึ้น การสำรวจอาจใช้วิธีสัมภาษณ์หรือให้กรอกแบบสอบถามก็ได้


Organization Change การปรับปรุงองค์กร

การปรับปรุงหรือเปลี่ยนแปลงองค์กรเพื่อให้การบริหารและการปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การปรับปรุงการแบ่งส่วนงาน ตลอดจนการสับเปลี่ยนโยกย้ายตัวบุคคล การปรับเปลี่ยนทัศนคติ เป็นต้น


Orientation การปฐมนิเทศ

การแนะนำให้ความรู้เบื้องต้นทั่วไป ที่ควรรู้ในการเข้าทำงานสำหรับลูกจ้างหรือพนักงานที่เข้าทำงานใหม่ เพื่อให้ความสะดวกที่จะทำงานต่อไป และสามารถปรับตัวเข้ากับสถานที่ทำงาน เพื่อนร่วมงานและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน


Out put ผลิตผล

ปริมาณของผลผลิตที่ได้จากการลงทุนหรือจากการกระทำใดๆ โดยคิดเป็นหน่วยของผลผลิตหรือคิดเป็นจำนวนหรืออาจเป็นตัวเงิน ซึ่งเป็นเงินจากค่าของผลผลิตนั้น


Outplacement Programs โครงการหางานให้ลูกจ้างที่ตกงาน

โครงการหางานให้ลูกจ้างที่พ้นสภาพการจ้าง เช่น ถูกเลิกจ้าง หมดสัญญาจ้าง สถานประกอบการเลิกกิจการ ยุบหน่วยงาน ฯลฯ ซึ่งจัดเป็นกรณีพิเศษ หรือสงเคราะห์เป็นครั้งคราว


Outside Contact แหล่งติดต่อหาคนทำงาน

สำนักงานหรือบุคคลที่นายจ้างสามารถใช้บริการให้เป็นผู้สรรหาบุคคลที่มีคุณสมบัติเฉพาะตามต้องการมาทำงานให้


Overhead Question คำถามลอย

คำถามที่ไม่เจาะจงตัวผู้ตอบ ใครจะตอบหรือไม่ตอบก็ได้ บางครั้งผู้ถามก็มิได้มุ่งหวังที่จะเอาคำตามซึ่งอาจเป็นเพียงคำถามกึ่งปรารภที่ประชุมก็ได้


Overtime ล่วงเวลา

หมายถึง ค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างสำหรับเวลาทำงานที่เกินเวลาทำงานปกติ


Overtime Pay ค่าล่วงเวลา

หมายถึง ค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้ลูกจ้างสำหรับเวลาทำงานที่เกินเวลาทำงานปกติ


Overtime Rate อัตราค่าล่วงเวลา

อัตราค่าล่วงเวลาต่อชั่วโมงทำงานที่ทำเกินเวลาทำงานปกติ โดยทั่วไปจะกำหนดไว้โดยกฎหมายระเบียบข้อบังคับหรือสัญญาข้อตกลง อัตรานี้จะสูงกว่าอัตราค่าจ้างในเวลาทำงานปกติ