L

Labour Camp สถานที่พักผ่อนของสหภาพแรงงาน

เป็นสถานที่สำหรับให้สมาชิกสหภาพและครอบครัวใช้พักผ่อนในวันหยุดพักผ่อนประจำปี หรือในวันหยุดอื่นๆ และอาจใช้เป็นสถานที่สำหรับจัดประชุมสมาชิกเพื่อพัฒนาหรืออภิปรายปัญหาต่างๆ


Labour Conscription การเกณฑ์แรงงาน

การใช้แรงงานโดยบังคับให้ทำงานโดยมิได้สมัครใจ ในกรณีปกติการเกณฑ์แรงงานไม่อาจกระทำได้ ยกเว้นในกรณีของรัฐที่อาจเกณฑ์แรงงานมาใช้ในการป้องกันประเทศหรือในกรณีฉุกเฉิน


Labour Convention การประชุมสมัชชาแรงงาน

หมายถึง การประชุมผู้แทนสหภาพแรงงานท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งอาจจัดให้มีการประชุมประจำปีหรือทุกสองปีเพื่อกำหนดนโยบายของสหภาพแรงงานและพิจารณาให้ความเห็นชอบข้อมติ และการรับเอานโยบายไปปฏิบัติ รวมทั้งแก้ไขข้อบังคับและระเบียบต่างๆ นอกจากนั้นยังมีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาทบทวนนโยบาย และเลือกตั้งเจ้าหน้าที่และกรรมการบริหารสหภาพตามวาระ


Labour Court ศาลแรงงาน

เป็นศาลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของแต่ละประเทศเพื่อพิจารณาพิพากษาเฉพาะคดีแรงงาน บางประเทศเรียกว่าศาลแรงงานสัมพันธ์หรือศาลชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ศาลแรงงานมีลักษณะเป็นองค์คณะยิ่งกว่าที่จะเป็นในรูปแบบของศาลสถิตย์ยุติธรรม


Labour Demand อุปสงค์แรงงาน

ความต้องการแรงงานในตลาดแรงงานหรือความต้องการจ้างงานของนายจ้าง


Labour Dispute ข้อพิพาทแรงงาน

ข้อขัดแย้งระหว่างลูกจ้างหรือองค์การลูกจ้างกับนายจ้างหรือองค์การนายจ้างเกี่ยวกับสภาพการจ้าง สภาพการทำงานหรือสิทธิของแต่ละฝ่าย


Labour Economics เศรษฐศาสตร์แรงงาน

วิชาที่ว่าด้วยการใช้แรงงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดและคุ้มครองให้มีสวัสดิภาพ เป็นแขนงหนึ่งของวิชาเศรษฐศาสตร์ที่เน้นในเรื่องการใช้แรงงานเพื่อการผลิต การให้บริการการจ้างแรงงาน ตลาดแรงงาน การมีงานทำ ค่าจ้าง รายได้ชั่วโมงทำงาน สภาพการทำงานและความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง


Labour Exit permit การอนุญาตให้ออกไปทำงานนอกประเทศ

การที่คนงานจะออกไปทำงานต่างประเทศต้องได้รับอนุญาตก่อน ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่อยู่ในภาวะสงคราม ได้ห้ามคนงานออกไปทำงานนอกประเทศก่อนได้รับอนุญาต เพื่อป้องกันการสูญเสียกำลังคน


Labour Federation สหพันธ์แรงงาน

สหพันธ์แรงงานเกิดจากการที่สหภาพแรงงานตั้งแต่สองสหภาพขึ้นไปมารวมกัน หรือผนึกกำลังเป็นหน่วยงานเดียวกันเพื่อประสิทธิภาพในการดำเนินการ โดยมีนโยบายและผลประโยชน์ร่วมกันและช่วยเหลือเกื้อกูลกัน


Labour Force กำลังแรงงาน

หมายถึง ประชากรที่อยู่ในวัยที่สามารถทำงานได้ และพร้อมที่จะทำงาน โดยไม่คำนึงว่าจะมีงานทำหรือไม่มีงานทำ แต่ละประเทศจะกำหนดอายุประชากรวันทำงานไว้แตกต่างกันตามสภาวะเศรษฐกิจและสังคม สำหรับประเทศไทยกำหนดอายุไว้ตั้งแต่ ๑๓ ปีขึ้นไป


Labour Hour ปริมาณงานต่อชั่วโมง

หมายถึง ปริมาณงานของคนงานคนหนึ่งๆ ที่ทำได้ในเวลาหนึ่งชั่วโมง Labour Hour นี้ ใช้เป็นเครื่องช่วยในการคิดต้นทุนการผลิตต่อหน่วย


Labour Inspection การตรวจแรงงาน

การตรวจสถานประกอบการโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทั้งในด้านสภาพการจ้างและสภาพการทำงานเพื่อให้มีการปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย


Labour Market ตลาดแรงงาน

การติดต่อตกลงกันไม่ว่าโดยวิธีใดก็ตามระหว่างผู้ประสงค์จะทำงานและผู้ต้องการจ้างงานเพื่อก่อให้เกิดการจ้างงาน การติดต่อตกลงดังกล่าว อาจทำในท้องที่ใดท้องที่หนึ่งในระดับภูมิภาค ประเทศ หรือระหว่างประเทศก็ได้และอาจรวมถึงวิธีการจ้าง การจัดหางาน การเข้าออกงาน การเคลื่อนย้ายแรงงานฯ


Labour Monopoly การผูกขาดแรงงาน

การที่สหภาพแรงงานสามารถเข้าควบคุมและผูกขาดการจ้างงานในตลาดแรงงาน โดยกำหนดค่าจ้างและสภาพการจ้างได้ตามที่ต้องการ การผูกขาดแรงงานดังกล่าว อาจเกิดขึ้นเฉพาะในกลุ่มช่างฝีมือหรือในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่งก็ได้


Labour Movement ขบวนการแรงงาน

การที่คนงานวางแผน ดำเนินการ และกระทำกิจกรรมต่างๆในด้านแรงงาน ซึ่งก่อให้เกิดความเป็นไปในด้านแรงงาน เช่น การจัดตั้งสหภาพแรงงานและองค์การต่างๆ ของผู้ใช้แรงงาน ตลอดจนความเคลื่อนไหวในด้านแรงงานสัมพันธ์ของกลุ่มคนงานทั่วๆ ไป ไม่เฉพาะแต่คนงานที่เป็นสมาชิกสหภาพแรงงานเท่านั้น

Labour Problem ปัญหาแรงงาน

ปัญหาที่เกี่ยวกับการใช้แรงงาน ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่ที่มีขอบเขตกว้างขวางมาก เช่น ปัญหาเกี่ยวกับค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน สภาพการทำงาน สวัสดิการแรงงาน ประกันสังคม ปัญหาการว่างงาน แรงงานสัมพันธ์ ฯลฯ ปัญหาแรงงานอาจนำไปสู่ปัญหาอื่นๆ อีกมากทั้งปัญหาสังคม เศรษฐกิจและการเมือง ซึ่งเป็นปัญหาระดับชาติ


Labour Racketeer ผู้นำลูกจ้างที่ข่มขู่เรียกเงินนายจ้าง

เป็นผู้นำลูกจ้างที่มีอิทธิพลในหมู่คนงาน ซึ่งอาจทำให้เกิดการนัดหยุดงานหรือไม่ก็ได้และใช้อิทธิพลนี้ข่มขู่นายจ้างที่เกรงการนัดหยุดงาน โดยการเรียกเงินหรือค่าคุ้มครอง


Labour Reformer ผู้ปฏิรูปแรงงาน

ผู้พยายามส่งเสริมฐานะและปรับปรุงสภาพการทำงานของคนงานโดยทางกฎหมาย โดยกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมอื่นๆ และพยายามใช้วิธีการประนีประนอมหรือไม่ใช้วิธีรุนแรง


Labour Relations แรงงานสัมพันธ์

ความสัมพันธ์ในด้านการจ้างงานระหว่างนายจ้างลูกจ้าง ซึ่งรวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่เกี่ยวกับการว่าจ้างทำงาน นับตั้งแต่เงื่อนไขการจ้าง สภาพการทำงานและผลประโยชน์จากการทำงานร่วมกันของทั้งสองฝ่าย รวมทั้งสาเหตุต่างๆ ที่มีผลต่อสัมพันธภาพระหว่างนายจ้างลูกจ้าง ตลอดจนการร่วมเจรจาต่อรอง และการสร้างความเข้าใจอันดีต่อกัน เพื่อการอยู่ร่วมกันต่อไป


Labour Shortage การขาดแคลนแรงงาน

หมายถึง สถานการณ์ที่มีแรงงานไม่เพียงพอหรือหาทำงานไม่ได้ การขาดแคลนแรงงานอาจเกิดขึ้นในอุตสาหกรรมต่างๆ ในท้องที่ใดที่หนึ่งหรือตลอดทั้งประเทศ เช่น ระหว่างที่ประเทศกำลังมีสงคราม ทั้งนี้ สาเหตุอาจเนื่องมาจากไม่มีการเคลื่อนย้ายแรงงาน ขาดการฝึกอบรมแรงงานหรือไม่มีสภาพการจ้างงานที่ดีในอุตสาหกรรมหรือในท้องถิ่นนั้น


Labour Solidarity การรวมพลังแรงงาน

การที่คนงานหรือสหภาพแรงงานต่างๆ รวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือองค์กรเพื่อทำงานร่วมกันให้บรรลุวัตถุประสงค์เดียวกัน


Labour Spy สายลับแรงงาน หรือนักจารกรรมแรงงาน

คือผู้ที่รับจ้างจากฝ่ายนายจ้างทำหน้าที่หาข่าวในทางลับและรายงานความเคลื่อนไหวของฝ่ายลูกจ้าง หรือ สหภาพแรงงานให้กับฝ่ายนายจ้างในทำนองจารกรรม โดยสมัครเป็นสมาชิกของสหภาพแรงงาน และมักจะสร้างความปั่นป่วนหรือปลุกปั่นให้เกิดความแตกแยกเพื่อทำลายสหภาพแรงงานด้วย


Labour Stage ละครแรงงาน

เป็นความพยายามของสหภาพแรงงานในอเมริกาสมัยก่อน ที่จะให้สาธารณชนได้ทราบถึงกิจกรรม นโยบายการดำเนินงานและสิ่งอื่นๆ ที่มีผลต่อสหภาพ โดยการเสนอสิ่งเหล่านั้นออกมาในรูปของการแสดงละคร


Labour Standard มาตรฐานแรงงาน

หมายถึง กฎเกณฑ์หรือข้อกำหนดต่างๆ ในเรื่องการใช้แรงงาน เช่น ค่าจ้าง ชั่วโมงทำงาน วันหยุด ความปลอดภัย ตลอดจนสวัสดิการต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไป รัฐจะกำหนดไว้ให้เป็นกฎเกณฑ์หรืออยู่ในบรรทัดฐานเดียวกัน เพื่อเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปและเป็นการประกันสภาพการทำงานให้เหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจและสังคม


Labour Supply อุปทานแรงงาน

จำนวนแรงงานที่มีอยู่ในตลาดแรงงานในคาบเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งสามารถสนองความต้องการได้


Labour Time Standard มาตรฐานเวลาทำงาน

เวลาที่กำหนดไว้ให้เหมาะสมสำหรับคนทำงาน โดยหาอัตราเฉลี่ยว่าคนงานคนหนึ่งๆ ต้องใช้เวลาเท่าไรในการทำงานที่กำหนด


Labour Turnover การเข้า-ออกงาน

หมายถึง การเปลี่ยนแปลงจำนวนคนทำงานของโรงงาน บริษัทหรืออุตสาหกรรมต่างๆ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ได้แก่ การเข้าทำงานและการออกจากงานของผู้ทำงาน


Labour Union สหภาพแรงงาน

องค์การที่จัดตั้งขึ้นโดยลูกจ้าง เพื่อแสวงหาและคุ้มครองสิทธิและผลประโยชน์เกี่ยวกับสภาพการจ้าง สวัสดิการตลอดจนความมั่นคงในการทำงานของลูกจ้างและสมาชิกและเพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างและระหว่างลูกจ้างด้วยกัน


Labour. ผู้ใช้แรงงาน

ผู้ใช้แรงงานนับเป็นผู้ที่อยู่ในกำลังแรงงานทั้งหมด ทั้งผู้ใช้เฉพาะกำลังกายในการทำงาน ผู้ใช้สมอง ตลอดจนผู้ใช้ทั้งกำลังกาย กำลังสมอง และความรู้ความสามารถด้วย


Labourer กรรมกรหรือคนงาน

เป็นผู้ทำงานที่ต้องใช้แรงกายมากตามลักษณะงานที่ทำ


Layoff การปลดออก

การที่นายจ้างให้ลูกจ้างออกจากงานเนื่องจากสาเหตุบางประการซึ่งมิใช่ความผิดของลูกจ้าง เช่น การขาดแคลนวัตถุดิบ ภาวการตลาด ภาวการขาดทุน ผลผลิตล้นตลาด ฯลฯ


Layoff Slip ใบแจ้งการปลดออก

แบบฟอร์มซึ่งนายจ้างใช้ในการเขียนข้อความแจ้งการปลดออกให้ลูกจ้างที่จะถูกปลดออกได้ทราบโดยปกติจะต้องแจ้งให้ลูกจ้างทราบล่วงหน้าอย่างน้อย ๒ วันทำงาน


Layoff-Pay ค่าปลดออก

เงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างที่ถูกปลดออกโดยไม่มีความผิด นายจ้างอาจจ่ายให้เป็นรายงวดหรือ


Leaf-Raking งานที่ให้ทำเพียงเพื่อให้มีตำแหน่ง

งานที่มอบหมายให้ลูกจ้างทำเพียงเพื่อให้ลูกจ้างมีตำแหน่งในสถานประกอบการโดยไม่คำนึงถึงผลงาน (ดูคำว่า Boondogling)


Leap-Frogging การทำข้อตกลงที่เหนือกว่าสหภาพแรงงานอื่น

กรณีที่นายจ้างรายหนึ่งเจรจาต่อรองกับสหภาพแรงงานหลายสหภาพ โดยใช้วิธีเจรจาและทำข้อตกลงกับสหภาพแรงงานทีละสหภาพ หลังจากที่นายจ้างตกลงกับสหภาพแรงงานอื่นๆ ได้แล้ว สหภาพแรงงานที่เจรจากับนายจ้างเป็นรายสุดท้ายกลับยืนยันที่จะทำข้อตกลงที่มีเงื่อนไขดีกว่า ข้อตกลงที่ทำกับสหภาพแรงงานอื่นๆ และอาจนัดหยุดงานเพื่อให้ได้ผลประโยชน์ที่ดีกว่า เมื่อนายจ้างยินยอมทำข้อตกลงที่มีเงื่อนไขดีกว่า ดังกล่าว สหภาพแรงงานอื่นๆ ที่ทำข้อตกลงกับนายจ้างไปแล้ว อาจเรียกร้องให้แก้ไขข้อตกลงให้มีลักษณะเดียวกัน การกระทำของสหภาพแรงงานสุดท้ายที่เรียกร้องให้ทำข้อตกลงที่มีเงื่อนไขดีกว่า ข้อตกลงที่สหภาพแรงงานอื่นๆ ทำกับนายจ้าง และกับที่สหภาพแรงงานอื่นๆ เรียกร้องให้แก้ไขข้อตกลงที่ทำไว้กับนายจ้างแล้วมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับข้อตกลงที่นายจ้างทำกับสหภาพแรงงานสุดท้าย เรียกว่า Leap-frogging


Lobster Shift กะดึก

เวลาทำงานกะสุดท้าย โดยทั่วไปมักจะเริ่มต้นในราวเที่ยงคืน เช่น เริ่มจากเวลา ๒๔.๐๐-๐๘.๐๐ น. หรือ ๒๓.๐๐-๐๗.๐๐ น. และ ๒๒.๐๐-๐๖.๐๐ น. ดังนี้ เป็นต้น


Lockout การปิดงาน

การที่นายจ้างปฏิเสธไม่ยอมให้ลูกจ้างเข้าทำงานชั่วคราว เนื่องจากข้อพิพาทแรงงาน เพื่อตอบโต้ข้อเรียกร้องหรือบีบบังคับฝ่ายลูกจ้างให้ยอมรับข้อเสนอของฝ่ายนายจ้าง