ระบบการศึกษาและการรับเข้าศึกษา
1. ระบบการจัดการศึกษา
1.1 ระบบ
ระบบการจัดการศึกษาใช้ระบบทวิภาค โดย 1 ปีการศึกษา แบ่งออกเป็น 2 ภาคการศึกษาปกติ 1 ภาคการศึกษาปกติมีระยะเวลาศึกษาไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์ โดยให้เป็นไปตามข้อบังคับ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559 และฉบับที่ 2 พ.ศ.2560
1.2 การจัดการศึกษาภาคฤดูร้อน
ไม่มี (อาจมีการจัดการศึกษาในภาคฤดูร้อน มีระยะเวลาศึกษา 8 สัปดาห์ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการบริหารคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ )
1.3 การเทียบเทียบเคียงหน่วยกิตในระบบทวิภาค
ไม่มี
2. การดำเนินการหลักสูตร
2.1 วัน – เวลาในการดำเนินการเรียนการสอน
2.1.1 ภาคการศึกษาที่ 1 เดือนสิงหาคม – เดือนธันวาคม ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
2.1.2 ภาคการศึกษาที่ 2 เดือนมกราคม – เดือนพฤษภาคม ไม่น้อยกว่า 15 สัปดาห์
2.1.3 ภาคการศึกษาฤดูร้อน เดือนมิถุนายน – เดือนกรกฎาคม ไม่น้อยกว่า 8 สัปดาห์
2.2 คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
คุณสมบัติผู้ที่เข้าศึกษาให้เป็นไปตามข้อบังคับมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ว่าด้วย การศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ.2559 และ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2560 และผู้ที่เข้าศึกษาหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ ต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
2.2.1 ต้องเป็นผู้สำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย (ม.6) หรือเทียบเท่า หรือสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีสาขาวิชาอื่น จากสถาบันของรัฐ หรือสถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรองโดยวิธีการเทียบโอนหน่วยกิต
2.2.2 เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย ไม่เป็นผู้บกพร่องในศีลธรรมและมารยาทอันดี
2.2.3 มีร่างกายแข็งแรงและไม่เป็นโรคที่สังคมรังเกียจ
2.2.4 ยินยอมปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
การคัดเลือกผู้สมัครเข้าเป็นนักศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบการคัดเลือกเพื่อเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
3. หลักสูตรและอาจารย์ผู้สอน
3.1 หลักสูตร
3.1.1 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 138 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะด้าน ไม่น้อยกว่า 102 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาแกน 90 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 12 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต
3.1.2 หลักสูตรอนุปริญญานิติศาสตร์
จำนวนหน่วยกิต รวมตลอดหลักสูตร 108 หน่วยกิต
โครงสร้างหลักสูตร
โครงสร้างหลักสูตร แบ่งเป็นหมวดวิชาที่สอดคล้องกับที่กำหนดไว้ในเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนี้
1) หมวดวิชาศึกษาทั่วไป ไม่น้อยกว่า 30 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชามนุษยศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ 6 หน่วยกิต
3. กลุ่มวิชาภาษา 12 หน่วยกิต
4. กลุ่มวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ 6 หน่วยกิต
2) หมวดวิชาเฉพาะ ไม่น้อยกว่า 75 หน่วยกิต
1. กลุ่มวิชาแกน 71 หน่วยกิต
2. กลุ่มวิชาเฉพาะด้าน 4 หน่วยกิต
3) หมวดวิชาเลือกเสรี ไม่น้อยกว่า 3 หน่วยกิต
4. การรับนักศึกษา
การรับนักศึกษา หลักสูตรใช้ระบบกลไกส่วนกลางของมหาวิทยาลัย ดำเนินการโดยศูนย์
ประชาสัมพันธ์และรับสมัครนักศึกษาใหม่ ในการรับเป็นการรับตรงแบ่งเป็น 2 ประเภทคือ
1. การรับสมัครเข้าศึกษาตามปกติ
2. แต่งตั้งคณะกรรมการเทียบโอนผลการเรียนเข้าสู่การศึกษาในระบบ
การรับทั้ง 2 ประเภทหลักสูตรมีส่วนเกี่ยวข้องในการคัดเลือก การสอบสัมภาษณ์การทดสอบกฎหมายเบื้องต้นเพื่อวัดระดับการเข้าใจกฎหมายเพื่อการสอน การเตรียมตัว การปรับตัวเข้ากับบรรยากาศการเรียนตาม การให้ข้อมูลรายละเอียดของหลักสูตร การเรียนการสอนในรูปแบบของคณะนิติศาสตร์ เช่น มีการสอบวัดผลการศึกษา จำนวน 1 ครั้ง คือการสอบปลายภาค ไม่มีการสอบกลางภาค ไม่มีคะแนนรายงาน และมีกิจกรรมต่าง ๆ ของคณะที่ดำเนินการเพื่อพัฒนาคุณลักษณะของบัณฑิต การไปดูงาน ณ ศาลอาญาธนบุรี ,สถาบันนิติเวช ,เรือนจำพิเศษธนบุรี เป็นต้น กรณีรับเข้าโดยวิธีการเทียบโอน หลักสูตรมีการแต่งตั้งคณะกรรมการเทียบโอนทำหน้าที่เทียบวิชาเรียนและโอนหน่วยกิตให้แก่นักศึกษาเป็นไปตามประกาศคณะกรรมการมาตรฐานการอุดมศึกษา เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการเทียบโอนหน่วยกิตและผลการศึกษาในระดับอุดมศึกษาพ.ศ.2565 ,ประกาศทบวงมหาวิทยาลัย เรื่องหลักเกณฑ์การเทียบโอนผลการเรียนระดับปริญญาเข้าสู่การศึกษาในระบบ พ.ศ.2545
นอกจากนี้หลักสูตรยังพบประเด็นเกี่ยวกับความเข้าใจในหลักสูตรของนักศึกษา หลักสูตรปรับกระบวนการโดยออกแบบสัมภาษณ์นักศึกษาใหม่ที่เป็นของหลักสูตรโดยเฉพาะมีสาระสำคัญดังนี้
ตอนที่ 1 ข้อมูลทั่วไป
ตอนที่ 2 ความคาดหวังต่อการเรียนการสอนในหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
ตอนที่ 3 แบบทดสอบวัดความรู้กฎหมายเบื้องต้น จำนวน 10 ข้อ
เพื่อสร้างความเข้าใจหลักสูตร วิชาชีพแก่นักศึกษาโดยการพูดคุยกับอาจารย์ที่ปรึกษาด้านหลักสูตร กิจกรรม และอาชีพที่เกี่ยวข้องและมีแบบทดสอบความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายเพื่อจะได้ทราบถึงความรู้พื้นฐานทางด้านกฎหมายของนักศึกษาเพื่อหลักสูตรจะได้นำมาเป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดกิจกรรมโครงการเตรียมความพร้อมที่เหมาะสมให้แก่นักศึกษาต่อไป
5. การเตรียมความพร้อมก่อนเข้าศึกษา หลักสูตรมีการดำเนินการ 2 โครงการกล่าว คือ
(1) ร่วมกับมหาวิทยาลัยจัดโครงการปฐมนิเทศให้แก่นักศึกษาเพื่อชี้แจง กฎ ระเบียบต่าง ๆ ในภาพรวมของมหาวิทยาลัยให้นักศึกษาได้รับทราบในช่วงเช้า และช่วงเวลาบ่ายเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้พบกับอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรซึ่งหลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตได้ดำเนินการปฐมนิเทศย่อยที่เป็นสาระข้อมูลสำคัญเฉพาะของหลักสูตรและเป็นเรื่องจำเป็นมีความสำคัญต่อนักศึกษาใหม่ โดยแบ่งเป็น 4 กิจกรรมย่อยดังนี้
กิจกรรมที่ 1 แนะนำคณะวิชาและหลักสูตร รวมถึงกฎ ระเบียบ สถานที่ต่าง ๆ ที่นักศึกษาจำเป็นต้องทราบในเบื้องต้น รวมถึงการแนะนำการเรียนสาขาวิชานิติศาสตร์ โอกาสทำงานทางวิชาชีพ โดยอาจารย์ประจำคณะทุกคนการวัดผลการเรียนของสาขาวิชานิติศาสตร์ การเขียนตอบปัญหากฎหมาย แหล่งข้อมูลหนังสือข้อสอบเก่า
กิจกรรมที่ 2 นักศึกษาพบอาจารย์ที่ปรึกษาเพื่อสร้างความเข้าใจเรื่องของการกำกับดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา
กิจกรรมที่ 3 แนะนำระบบสนับสนุนการสืบค้นด้วย SAU.WIFI ที่มีอยู่ทั่วพื้นที่ในอาคารคณะนิติศาสตร์ รวมถึงการสืบค้นฐานข้อมูลกฎหมายด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศผ่านช่องทาง www.krisdika.go.th การค้นหาคำพิพากษาศาลฎีกาhttp://deka.supremecourt.or.th/
กิจกรรมที่ 4 นักศึกษาใหม่พบประธานนักศึกษาคณะนิติศาสตร์พร้อมทีมงาน และรุ่นพี่ชั้นปีต่าง ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างรุ่นพี่และรุ่นน้องมีการแนะนำกิจกรรมการต้อนรับน้องใหม่ ซึ่งอยู่เป็นกิจกรรมที่อยู่ในความดูแลของอาจารย์อย่างใกล้ชิดส่งผลต่ออัตราการคงอยู่ของนักศึกษา
(2) คณะนิติศาสตร์ดำเนินการเตรียมความพร้อมการเรียนกฎหมาย โดยมีการจัดโครงการเตรียมความพร้อมเพื่อการศึกษากฎหมายอย่างมีคุณภาพ ซึ่งจัดมาเป็นประจำทุกปีเป็นการดำเนินการต่อเนื่องทุกปี ลักษณะโครงการเป็นการสอนแนะนำการเขียนตอบข้อสอบวิชากฎหมาย การอ้างอิงบทบัญญัติกฎหมาย การนำบทบัญญัติกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงที่โจทย์กำหนดไว้หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่จัดการเรียนการสอนวิชากฎหมายที่มีความเป็นอัตลักษณ์ทั้งการเรียนการสอน การสอบ และการวัดผลการศึกษา กล่าวคือ วิชากฎหมายไม่มีการจัดสอบกลางภาคมีการสอบปลายภาคครั้งเดียว 100 คะแนนและในโครงการดังกล่าวมีการจัดซื้อหนังสือการตอบข้อสอบกฎหมาย ภาษาอังกฤษสำหรับนักกฎหมายมาไว้ที่คณะเพื่อให้นักศึกษาได้อ่านทบทวนเพิ่มเติม